cw.in.th > คลังความรู้ > ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีหรือไม่ ?
25-Dec-2017

ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีหรือไม่ ?

ขอตอบก่อนเลยว่า "ต้องเสียภาษี" เพราะเราขายสินค้า ไม่ว่าจะขายออนไลน์ หรือไม่ออนไลน์ ก็ตาม เมื่อเรามีรายได้เกิดขึ้น ประชาชนทุกคนต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้รัฐบาลและประเทศของเราเสมอ เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้นระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อและไม่ว่าจะชำระเป็นเงินสดหรือเครดิตหรือแคชเชียร์เช็ค จะชำระเงินด้วยวิธีไหนก็ตาม ถ้าวิธีนั้นสามารถแปรเป็นเงินได้ก็นับรวมทั้งหมดนะครับ 

เมื่อขายของออนไลน์ซึ่งทำใหเรามีรายได้ เราจึ้งต้องมีหน้าที่ยื่นเสียภาษีกับสรรพากรท้องที่ที่เราอยู่ ธุรกิจร้านค้าออนไลน์ หรือ E-Commerce ถือว่าเป็นธุรกิจแนวใหม่ที่กำลังมาแรงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่ หรือนักธุรกิจหน้าใหม่ต่างให้ความสำคัญกับช่องทางการขายสินค้าออนไลน์เป็นอย่างมา เพราะสามารถทำรายได้เป็นอย่างดี และยังไม่ต้องอาศัยเงินลงทุนเป็นจำนวนมากในการเริ่มต้นธุรกิจ การเปิดเว็บไซต์เพืิ้อขายสินค้าออนไลน์นับว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่คนทำธุรกิจไม่ควรมองข้ามไป ซึ่งสามารถทำให้ผู้คนที่สนใจสินค้าของเราเข้ามาเลือกชม เลือกดูได้ตลอดเวลา มีสินค้าหลากหลายในเว็บไซต์ของเราเอง สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจเราเติบโตต่อไป

"ร้านค้าขายสินค้าออนไลน์ ที่มีรายได้เกินปีละ 1.8 ล้านบาท ต้องเสียภาษี"

   พ่อค้าแม่ค้าที่เปิดร้านขายสินค้าออนไลน์บนเว็บไซต์  เจ้าของเว็บไซต์หรือผู้ประกอบการจะต้องเกี่ยวข้องกับการเสียภาษี 2 ประเภท คือ 
1. ภาษีเงินได้ 
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยการคำนวณจากรายได้สุทธิ แต่ถ้าจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือ นิติบุคคล ก็ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวนจากกำรสุทธิ 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเสียรายเมื่อเรามีรายได้เกิน 1,800,000 บาท/ปี เมื่อเรามีรายได้เกินนี้ต้องจดทะเบียนเสียภาษี มูลค่าเพิ่ม และไปบวกเพิ่มจากลูกค้าทันที เช่นขายสินค้าราคา 100 บาท ต้องบวกภาษีมูลค่าเพิ่มไปอีก 7% ราคารวมที่ลูกค้ามาซื้อของกับเราต้องจ่ายเป็น 107 บาท นั่นเอง

กรณีการเปิดร้านค้าออนไลน์สำหรับบุคคลธรรมดา ร้านค้ารายเล็กๆ มีการพิจารณาอยู่ 2 กรณี คือ
1. รายได้ไม่ถึง 1,800,000 บาท/ปี เสียแค่ภาษีเงินได้บุคคล
2. รายได้เกิน 1,800,000 บาท/ปี ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยเงินได้จากการขายของออนไลน์ถือเป็นเงินประเภทที่ 8 (เงินได้ประเภทอื่นๆ) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ 
แบบเหมารวมในอัตรา 80% ของรายได้ และแบบตามความจำเป็น/ตามสมควร โดยส่วนที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายให้นำมาหักลดหย่อนตามกฏหมายเพื่อคำนวณเงินได้สุทธิในขั้นตอนต่อไป 

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rd.go.th


3022 View

ดูคลังความรู้ทั้งหมด





กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai  Thailand Web Stat
Scroll To Top